อดีตในการเริ่มอยู่ไฟหลังคุณแม่คลอดบุตร

ในอดีตหากพูดถึงการดูแลคุณแม่หลังคลอด พบว่ามีด้วยกันหลายวิธีแต่สิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ นั่นคือ ‘การอยู่ไฟ’ ซึ่งคนโบราณเชื่อว่า หญิงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสรีระ น้ำหนัก หรือหน้าท้องที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้หลังคลอดอาจมีอาการปวดเมื่อย หรืออักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณสันหลัง หรือขาที่เกิดจากการกดทับระหว่างตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นจึงได้คิดค้นวิธีดังกล่าว โดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ฟื้นฟูร่างกายให้คุณแม่หลังคลอดปรับสมดุลในร่างกายให้เป็นปกติโดยเร็วที่สุดสำหรับวิธีการอยู่ไฟในสมัยก่อนนั้น  บางคนอาจสร้างขึ้นมาแบบง่าย ๆ ด้วยการนำสุมไก่มาดัดแปลงเป็นกระโจมคลุมด้วยผ้าขนาดใหญ่ หรือนอนผิงเตาไฟอุ่น ๆ บนกระดานไม้แผ่นเดียว พร้อมกับลูกน้อยที่อยู่ในกระด้ง แต่เพื่อความสะดวก ในปัจจุบันจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการอยู่ไฟในกระโจมเป็นการอยู่ไฟในตู้อบที่ภายในบรรจุหม้อต้มสมุนไพรตามตำรับศาสตร์แพทย์แผนไทย ควบคู่ไปกับการนวดคลายเส้น และดูแลผิวพรรณให้คุณแม่หลังคลอดดูสวยเปล่งปลั่งมากยิ่งขึ้น “ถ้าเป็นขั้นตอนที่พี่ปฏิบัติอยู่นั้นจะเริ่มต้นด้วยการซักประวัติ เช็คร่างกาย จากนั้นก็อบสมุนไพร อาบน้ำต้มสมุนไพร นวดผ่อนคลาย เพื่อลดการเกร็งกล้ามเนื้อ นวดตะเกียบบริเวณอุ้งเชิงกรานที่ขยายตัวและกางออกจนทำให้ดูสะโพกใหญ่ให้หดตัวลง นวดโกยท้อง เพื่อลดการตึงของมดลูกและกระตุ้นให้มดลูกหดตัว นวดไหล่ บ่า คอ ศีรษะ เพื่อช่วยผ่อนคลาย นาบก้อนเส้า (หินแม่น้ำนำไปอังไฟให้ร้อน) บริเวณหน้าท้องเพื่อช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น โกยมดลูก เพื่อปรับมดลูกให้เข้าที่ นั่งถ่านสำหรับคุณแม่คลอดธรรมชาติ เพื่อช่วยให้แผลฝีเย็บหายเร็วขึ้น และการนวดหน้า นวดน้ำมัน พอกตัว ขัดตัว ด้วยสมุนไพรต่าง ๆ เพื่อให้คุณแม่กลับมามีผิวพรรณสดใสเหมือนเดิม” การผสมผสานระหว่างศาสตร์โบราณและการดูแลความสวยความงามแบบสมัยใหม่ […]